โรคลมชักในเด็ก

 

โรคลมชักในเด็ก: การวินิจฉัยและการรักษา (Epilepsy in Children: Diagnosis & Treatment)

โรคลมชักคือ โรคทางสมองในเด็กที่พบได้บ่อยในสหรัฐอเมริกา – เกือบ 3 ล้านคนที่เป็นโรคนี้ (450,000 รายเป็นเด็กที่อายุต่ำกว่า 17 ปี)

ประมาณสองในสามของเด็กทั้งหมดที่เป็นโรคลมชักนั้นอาการชักมักหายไปได้เองเมื่อพวกเขาเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น แต่กระนั้น ก็ยังเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับพ่อแม่ในการช่วยให้เด็กมีวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีไว้และทำให้แน่ใจว่าไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

เกี่ยวกับโรคลมชักและการชัก

โรคลมชักคือโรคทางสมองที่ทำให้เกิดอาการชักบ่อยครั้ง การชักถูกกระตุ้นโดยกระแสไฟฟ้าและการทำงานของสารเคมีในสมองมีการเปลี่ยนแปลง อาการชักอาจมีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บของสมองทุกชนิด ซึ่งรวมไปถึงการบาดเจ็บที่ศีรษะ การตอดเชื้อ สารพิษหรือแม้แต่การพัฒนาการของสมองมีปัญหามาแต่กำเนิด และบ่อยครั้งที่อาการชักและโรคลมชักไม่อาจหาสาเหตุได้

ชนิดของการชักมแตกต่างกันออกไปหลายชนิด  บางชนิดเกิดขึ้นเพียงสั้นๆใช้เวลาเพียงสองสามวินาที ในขณะที่บางชนิดมีอาการสองสามนาที  ชนิดของการชักชึ้นอยู่กับว่าเกิดขึ้นจากบริเวณใดของสมองและสมองมีส่วนเกี่ยวข้องมากน้อยแค่ไหน แพทย์จะวินิจฉัยเด็กว่าเป็นโรคลมชักหากว่า:

●       เด็กมีอาการชักหนึ่งครั้งหรือมากกว่า​

●       แพทย์คิดว่าเด็กอาจมีแนวโน้มจะมาการชักอีกครั้ง

●       อาการชักไม่ได้เกิดจากโรคอื่นๆ เช่นโรคเบาหวานหรือการติดเชื้อรุนแรง

ผลกระทบของโรคลมชักในเด็กแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ​:

●       อายุ

●       ชนิดของการชัก

●       การตอบสนองต่อการรักษา

●       มีปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ

ในบางคนอาจควบคุมอาการชักได้่ายๆด้วยยา และสามารถหายไปได้เองในที่สุด แต่บางรายก็กลายเป็นความยุ่งยากที่ต้องเป็นตลอดชีวิต

ด้วยการพัฒนาที่มีมากขึ้นในการรักษาโรคลมชักเมื่อไม่นานมานี้ทำให้โรคนี้สามารถจัดการได้มากขึ้น ยากันชักตัวใหม่ๆหลายตัวมีความเหมาะสมมากขึ้น รวมไปถึงยังมีการรักษาทางเลือกสำหรับเด็กที่มีความเหมาะสมที่ใช้ร่วมกับการทานยา

วินิจฉัยโรคลมชักอย่างไร?

การวินิจฉัยรวมถึงการประเมินอาการหรือโรคขึ้นอยู่กับสัญญานและอาการของโรค การวินิจฉัยโรคลมชักมักทำเมื่อเกิดการชักมากกว่าหนึ่งครั้งโดยไม่ทราบสาเหตุเช่น มีไข้สูงหรือได้รับบาดเจ็บ

เด็กทุกคนที่มีการชักที่ไม่มีปัจจัยกระตุ้นมีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลใกล้ชิดอย่างเร่งด่วน และต้องมีการติดตามจากกุมารแพทย์ หากอาการชักเกิดขึ้นอีกครั้งควรไปพบผู้เชี่ยวชาญกุมารแพทย์ทางประสาท

การวินิจฉัยเด็กจะมีกระบวนการที่หลากหลาย ขั้นตอนหลักๆในกระบวนการมีดังต่อไปนี้:

●       รายละเอียดของประวัติโรคประจำตัว: อาจรวมไปถึงคำถามการตั้งครรภ์ของมารดาและการคลอด มีญาติเป็นโรคลมชักและหากเด็กมีไข้สูง มีการบาดเจ็บที่ศีรษะและหรือตาค้าง ไม่สนใจหรือกลั้นหายใจ

●       รายละเอียดของการชัก: คนที่อยู่ในระหว่างที่เด็กมีอาการชักควรเป็นคนพูดคุยกับแพทย์

●       การตรวจร่างกาย: เพื่อประเมินหัวใจ ระบบประสาทและสภาพทางจิตใจ

●       การตรวจเลือด: เพื่อระบุแนวโน้มของสาเหตุหรืออาการเจ็บป่วยอื่นๆ

●       การเอกซเรย์ด้วยซีทีสแกน: สามารถนำมาใช้เพื่อประเมินการชักที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของระบบประสาทหรืออาการเจ็บป่วย

●       การตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง อีอีจี: สามารถนำมาใช้ประเมินความเสี่ยงการกลับมาชักซ้ำและอาจช่วยประเมินชนิดของการชักและโรคลมชัก

●       การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเอ็มอาร์ไอ: จะได้ภาพของสมองเพื่อนำมาประเมินเด็กที่เริ่มมีอาการใหม่หรือการชักที่อาจเริ่มในสมองเฉพาะบางส่วน

หลังการตรวจ ทดสอบและการเฝ้าสังเกตการณ์ แพทย๋จะระบุได้ว่าเด็กเป็นโรคลมชักหรือไม่

หากพบว่าเด็กได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมชัก:

หลังจากการวินิจฉัยเกิดขึ้น สิ่งสำคัญสำหรับพ่อแม่คือการทำงานร่วมกัยกับแพทย์เพื่อระบุชนิดของการชักในเด็ก รวมถึงทางเลือกในการรักษา อาการชักมักไม่ค่อยเกิดขึ้นในห้องตรวจแพทย์ พ่อแม่และผู้ดูแลจะต้องเฝ้าสังเกตการณ์และติดตามดูพฤติกรรมที่ผิดปกติ เพื่อรายงานให้แพทย์ประจำตัวเด็กทราบ

 

​จากนี้ไปคือสิ่งที่ทางสมาคมโรคลมชักออกแบบไว้เพื่อให้พ่อแม่จดบันทึก:

●       เคล็ดลับการเฝ้าสังเกตการชักและจดบันทึก

●       ตารางจดบันทึกอาการชัก

●       ตารางรายละเอียดการชัก

●       แอปเฝ้าติดตามการชัก

แพทย์จะประเมินอาการของเด็กและลักษณะเฉพาะ (อายุ ความถี่ของการชัก ประวัติครอบครัว และอื่นๆ) ให้ตรงตามรูปแบบและชนิดโรคลมชัก การระบุโรคลมชักจะขึ้นอยู่กับชนิดของการชัก ผลการทดสอบ พฤติกรรมของเด็กในระหว่างมีอาการชัก และความคาดหวังในการตอบสนองต่อการรักษาของเด็ก

โรคลมชักในเด็กรักษาอย่างไร?

การรักษาสำหรับโรคลมชักมักเริ่มด้วยการใช้ยา แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ควรจำให้ดีคือโรคลมชักเป็นโรคที่มีความซับซ้อนและเด็กทุกคนแตกต่างกัน และไม่ใช่เด็กทุกคนจะตอบสนองต่อการรักษาในวิธีที่เหมือนกันเสมอ ดังนั้นจึงไม่มีคำว่า “การรักษาที่ถูกต้อง”

ยาป้องกันการชัก

ยาป้องกันการชักมีหลายชนิด ที่เรียกว่า ยากันชัก (AEDs) หรือยาต้านชัก ซึ่งมีทั้งแบบกลุ่มมาตรฐานและแบบกลุ่มใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม เราต้องหาตัวที่ได้ผลดีที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน

ยาดังกล่าวนี้จะไม่ไปเปลี่ยนโรคทางสมองที่เป็นตัวทำให้เกิดอาการชัก ยาพวกนี้ได้เพียงแค่รักษาอาการโรคลมชักด้วยการลดความถี่ในการเกิดอาการชักเท่านั้น ยาจะได้ผลที่เหมาะสมจนกว่ายาจะได้ระดับที่ร่างกายต้องการ และรัดับนั้นก็จะคงที่อยู่อย่างนั้น ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งในการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

หากการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล อาจมีทางเลือกอื่น เช่น​:

●       การผ่าตัดสมอง

●       ใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อป้องกันและควบคุมอาการชัก

●       โภชนาการบำบัด (เช่น การทานคีโต การทานแบบแอตกินส์ การรักษาด้วยการทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลในอาหารต่ำ)

เด็กจำเป็นต้องทานยาสำหรับโรคลมชักนานเท่าไร:

หากพบว่าเด็กไม่มีอาการชักเป็นเวลาสองสามปี ก็อาจเป็นไปได้ที่จะหยุดยา ซึ่งเด็กแต่ละคนก็แตกต่างกันออกไป เด็กไม่ควรจะหยุดยาเองยกเว้นมีคำแนะนำและการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์

ความเสี่ยงจากปัญหาอื่นๆ

โรคลมชักสามารถเพิ่มความเสี่ยงให้เด็กมีโอกาสที่จะอารมณ์หรือการเรียนรู้บกพร่อง ปวดศีรษะ แผลและโรคทางกายอื่นๆ สิ่งสำคัญของพ่อแม่คือต้องรู้เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่อาจเกิดโรคร่วมได้ ควรปรึกษาแพทย์ของเด็กเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นกังวล

 

นี่คือแหล่งที่มาบทความของเรา

●     https://www.nhs.uk/conditions/epilepsy/

●     https://www.cdc.gov/epilepsy/about/faq.htm

●     https://www.cdc.gov/epilepsy/index.html

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *