การรักษาโรคลมชัก (Epilepsy)

ภาพรวม

โรคลมชัก (Epilepsy) เป็นภาวะทั่วไปที่มีผลต่อสมองและทำให้เกิดอาการชักอยู่บ่อย โดยอาการชักจะไปรบกวนกระแสประสาทภายในสมองชั่วคราว จึงมีผลต่อการทำงานของสมอง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการที่ตามมาได้หลายอย่าง นอกจากนี้โรคลมชักสามารถเกิดได้ทุกวัย แต่มักเริ่มตั้งแต่วัยเด็กหรือในผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป มันจะอยู่กับเราไปตลอดชีวิต แต่บางครั้งอาการอาจดีขึ้นอย่างช้าๆเมื่อเวลาผ่านไป

อาการของโรคลมชัก

อาการชักในแต่ละคนแตกต่างกะนไป ขึ้นอยู่กับรอยโรคเกิดในสมองส่วนใด โดยอาการที่เป็นไปได้ เช่น:

● ไม่สามารถควบคุมการกระตุก หรือสั่นได้

●     สูญเสียการรับรู้และรู้สึกว่างเปล่า

●     ตัวแข็ง

●     รู้สึกแปลกๆ เช่น รู้สึกวูบวาบภายในท้อง, การได้กลิ่นหรือรับรสผิดปกติ,และรู้สึกแขนขาชา

●     ล้มตัวลงไปกองกับพื้นทันที

เมื่อไหร่ควรของความช่วยเหลือจากทีมสุขภาพ

คุณสามารถไปพบแพทย์ได้ตั้งแต่เริ่มมีอาการชักครั้งแรก ซึ่งมันก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเป็นโรคลมชักเสมอไป เพราะอาการชักเกิดได้จากหลายสาเหตุ ฉะนั้นการไปพบแพทย์จะสามารถช่วยหาสาเหตุของการชักได้

โทรศัพท์เรียก 1669 เมื่อพบคน:

●     มีคนเกิดอาการชักเป็นครั้งแรก

●     มีอาการชักนานกว่า 5 นาที

●     มีอาการชักหลายๆครั้งติดกัน

●     มีปัญหาในการหายใจ หรือเกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงต่อตัวผู้ที่มีอาการชักเอง

การรักษาโรคลมชัก

การรักษาส่วนใหญ่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยโรคลมชักมีอาการชักลดลง หรืออาการชักหายไปอย่างถาวร การรักษาได้แก่:

●     การรักษาด้วยยากันชัก – เป็นการรักษาหลัก

●     การผ่าตัดนำส่วนของสมองที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการชักออกเล็กน้อย

●     หัตถการที่เป็นการนำอุปกรณ์ที่เหนี่ยวนำกระแสประสาทฝังเข้าไปในร่างหาย เพื่อควบคุมอาการชัก

●     สูตรอาหารพิเศษ (ketogenic diet) ซึ่งจะช่วยควบคุมอาการชัก

บางคนต้องรักษาไปตลอดชีวิต แต่คุณอาจจะหยุดการรักษาได้ หากอาการชักหายไป

การใช้ชีวิตร่วมกับโรคลมชัก

โรคลมชักมักเป็นภาวะที่จะอยู่กับเราไปตลอด แต่คนส่วนใหญ่ก็สามารถมีชีวิตปกติได้ หากสามารถควบคุมอาการได้ ในเด็กส่วนมากที่เป็นโรคลมชัก สามารถไปโรงเรียน ทำกิจกรรมและเล่นกีฬา ร่วมไปถึงออกไปทำงานเมื่อเขาโตขึ้นได้ตามปกติ  แต่คุณอาจต้องคำนึงถึงกิจกรรมบางอย่าง เช่น การขับรถ, ว่ายน้ำ รวมไปถึงการวางแผนที่จะตั้งครรภ์ ฉะนั้นควรปรึกษาแพทย์หรือกลุ่มช่วยเหลือในการใช้ชีวิตร่วมกับโรคลมชักได้อย่างปกติสุข

สาเหตุของโรคลมชัก

ในผู้ที่เป็นโรคลมชัก การส่งกระแสประสาทภายในสมองจะถูกรบกวนและบางครั้งก็ขาดหายไป จึงเป็นที่มาของอาการชัก ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ไม่ค่อยชัดเจนว่าเกิดขึ้นจากอะไร เป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากยีนส์ที่ส่งผลต่อการทำงานของสมอง โดยพบ 1 ใน 3 คนที่มีประวัติควในครอบครัวเป็นโรคลมชัก

บางครั้งโรคลมชักอาจเกิดจากความเสียหายของสมอง ที่เกิดจาก:

●     โรคหลอดเลือดสมอง  

●     เนื้องอกภายในสมอง

●     การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง 

●     การเสพยา หรือ อาการถอนยา

●     การติดเชื้อที่สมอง

●     การขาดออกซิเจนเมื่อแรกเกิด

ประเภทของอาการชัก

อาการชักเพียงบางส่วน (Simple partial seizures) หรือมีอาการนำมาก่อนเกิดอาการชักที่เรียกว่า 'auras'

มีลักษณะ:

●     ความรู้สึกแปลกๆทั่วไปที่ยากจะอธิบาย

●     รู้สึกวูบวาบภายในท้อง – ความรู้สึกเหมือนกำลังอยู่ในสนามแข่งขัน

●     รู้สึกเหมือนเหตุการณ์เคยเกิดมาก่อน (déjà vu)

●     การรับรส หรือรับกลิ่นผิดเพี้ยนไป

●     แขนขาชา

●     มีความรู้สึกกลัวหรือมีความสุขอย่างมาก

●     บางส่วนของร่างกายจะแข็งหรือกระตุก เช่น แขน หรือมือ

การชักลักษณะนี้คุณจะตื่นรู้ตัวอยู่ตลอด เราจึงเรียกมันว่าเป็นสัญญาณเตือน (auras) ก่อนที่จะเกิดอาการชักตามมา

อาการชักที่ซับซ้อนเพียงบางส่วน (Complex partial seizures)

ระหว่าที่เกิดการชักแบบซับซ้อนบางส่วน คุณจะสูญเสียการรับรู้ ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกายแบบสุ่ม เช่น:

●     การกัดริมฝีปาก

●     ถูมือไปมา

●     ส่งเสียงไปโหวกเหวก

●     แกว่งแขนไปมา

●     เคี้ยวหรือกลืนอากาศ

โดยคุณไม่สามารถโต้ตอบกับใครได้เลยขณะชัก และคุณก็จำไม่ได้ด้วยว่าเกิดอะไรขึ้นกับคุณ

อาการชักแบบ Tonic-clonic

อาการชักแบบ tonic-clonic หรือที่เรียกว่า "grand mal" เป็นอาการชักประเภทหนึ่งที่พบมากในผู้ที่เป็นโรคลมชัก โดยมี 2 ระยะ คือ ระยะ  และก็ตามด้วยระยะ clonic

  1. ระยะ tonic (tonic stage) – คุณจะหมดสติ ตัวจะแข็งทื่อและอาจล้มลงไปกับพื้น
  2. ระยะ clonic (clonic stage) – แขนขากระตุก สูญเสียการควบคุมกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ คุณอาจกัดลิ้นตัวเองหรือกระพุ้งแก้ม รวมไปถึงอาจหายใจลำบาก

อาการชักลักษณะนี้จะหยุดได้เองเมื่อผ่านไป 2-3 นาที แต่บางครั้งก็ยาวนาน หลักจากนั้นคุณจะปวดศีรษะ หรือจำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับคุณและรู้สึหเหนือย

อาการชักแบบเหม่อลอย (Absences seizure)

อาการชักแบบเหม่อลอย หรือที่เรียกว่า "petit mal" มีลักษณะเหมือนไม่มีสติ ขาดความสนใจสิ่งรอบตัวช่วงสั้นๆ มักเกิดในเด็ก แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัย ซึ่งอาการชักจะเกิดเพียง 15 วินาที คุณจะจำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น สามารถเกิดอาการชักลักาณะนี้ได้หลายครั้งในหนึ่งวัน

อาการชักกระตุก (Myoclonic seizures)

เป็นอาการชักกระตุกที่เกิดทั่วทั้งตัว เหมือนถูกไฟฟ้าช็อก มักเกิดหลังตื่นนอน เป็นเวลาเพียงไม่กี่วินาที แต่เกิดช่วงสั้นๆหลายครั้ง ซึ่งระหว่างที่เกิดอาการคุณจะยังตื่นอยู่

อาการชักกระตุกเป็นจังหวะ (Clonic seizures)

มีลักษณะคล้ายกับการชักแบบ tonic-clonic แต่คุณจะไม่มีอาการตัวแข็งในตอนเเรกเริ่ม อาการเกิดประมาณ 2-3 นาที คุณอาจหมดสติได้

อาการชักเกร็ง (Tonic seizures)

เกิดจากการที่กล้ามเนื้อเกร็งตัวอย่างกระทันหัน คล้ายระยะแรกของการชักแบบ tonic-clonic ซึ่งคุณอาจเสียการทรงตัวและล้มลง

อาการชักแบบกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Atonic seizures)

เกิดจากกล้ามเนื้อคลายตัวกระทันหัน เหตุการณืต่อมาคือคุณจะล้มลงพื้นทันที เป็นการชักเพียงช่วงสั้นๆจากนั้นคุณก็สามารถลุกขึ้นมาได้เองทันที

อาการชักแบบต่อเนื่อง (Status epilepticus)

เป็นการชักที่กินเวลานาน นานจนหมดสติไป ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องนำตัวเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน หากคุณมีผู้ป่วยโรคลมชักในครอบครัว หรือพบเห็นผู้ที่มีอาการชักยาวนานเกิน 5 นาที ให้รีบโทร 1669 เรียกหน่วยฉุกเฉินนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

สิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการชัก

บางทีอาการชักอาจเกิดโดยไม่มีอะไรกระตุ้น แต่บางครั้งก็มีสิ่งที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้ เช่น:

●     ความเครียด

●     การอดนอน

●     การตื่นนอน

 

●     การดื่มแอลกอฮอร์

●     ยาบางอย่าง หรือสารเสพติด

●     หญิงในช่วงมีประจำเดือน

●     แสงไฟกระพริบ (ไม่ใช่สิ่งกระตุ้นที่พบทั่วไป)

ควรบันทึกสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการชัก เพื่อที่จะสามารถป้องกันอาการชักได้ในครั้งถัดไป หรือหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นได้

เรียนรู้เกี่ยวกับอาการชักของคุณ

มันสามารถช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคลมชักได้รวดเร็วขึ้นหากคุณสังเกต ติดตามอาหารชักของตัวคุณเอง และบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นไว้ เช่น

●     เกิดอาการชักเมื่อไหร่

●     ทำอะไรบ้างเมื่อเกิดอาการชัก

●     ความรู้สึกก่อน, ระหว่าง และหลังเกิดอาการชัก

หรือหากในคนใกล้ชิด อาจให้พวกเขาถ่ายวีดิโอเหตุการณ์เมื่อคุณมีอาการชักเอาไว้ จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณอย่างมาก

การตรวจสำหรับโรคลมชัก

การตรวจระบบประสาทของสมอง (EEG)

การตรวจคลื่นสมอง (electroencephalogram :EEG) ใช้ตรวจคลื่นสมองเพื่อค้นหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในสมองของผู้ป่วย โดยเป็นการแปะแผ่นจับสัญญาณประสาทบริเวณกะโหลกศีรษะโดยรอบ จากนั้นเครื่องจะทำการบันทึกคลื่นสมองที่เกิดขึ้น

การสแกนสมอง

ทำให้ทราบว่าจุดที่เกิดปัญหาภายในสมองมีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้น เช่น:

●     การเกิดเนื้องอก

●     ความเสียหายของเนื้อสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง

●     รอยแผลเป็นภายในสมอง

การรักษา

การรักษาโรคลมชักส่วนใหญ่ได้แก่:

●     การรักษาด้วยยากันชัก – เป็นการรักษาหลัก

●     การผ่าตัดนำส่วนของสมองที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการชักออกเล็กน้อย

●     หัตถการที่เป็นการนำอุปกรณ์ที่เหนี่ยวนำกระแสประสาทฝังเข้าไปในร่างหาย เพื่อควบคุมอาการชัก

●     สูตรอาหารพิเศษ (ketogenic diet) ซึ่งจะช่วยควบคุมอาการชัก

ซึ่งควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับคุณ

ยากันชัก (Anti-epileptic drugs :AEDs)

นิยมใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคลมชัก ซึ่งจะช่วยควบคุมอาการชักของผู้ป่วย 7 ใน 10 คนได้ โดยยาจะทำหน้าที่เปลี่ยนระดับสารเคมีภายในสมอง ไม่ได้รักษาอาการชักโดยตรง แต่ทำให้อาการชักหยุดลงได้

ประเภทของยากันชัก

●     sodium valproate

●     carbamazepine

●     lamotrigine

●     levetiracetam

●     topiramate

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงมักเกิดภายหลังจากที่เริ่มใช้ยา 2-3 วันแรก หรือสัปดาห์แรก ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย เช่น:

●     ง่วงนอน

●     อ่อนเพลีย

●     ปั่นป่วน

●     ปวดศีรษะ

●     ควบคุมอาการสั่นไม่ได้

●     ผลร่วง

●     เหงือกบวม

●     ผื่น – ให้แจ้งแพทย์หากมีผื่นเกิดขึ้น นั้นหมายถึงคุณเกิดปฏิกิริยาจากยาที่สำคัญ

หัตถการอื่นๆ

นอกจากการรักษาด้วยยาและการผ่าตัดแล้ว ยังมีหัตถการอื่นๆที่สามารถช่วยลดอาการชักลงได้

การกระตุ้นเส้นประสาทวากัส (Vagus nerve stimulation :VNS)

เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าเล็กๆลักาณะคล้ายเครื่องกระตุ้นหัวใจ (pacemaker) ที่ฝั่งอยู่ใต้ผิวหนังที่หน้าอก โดยเครื่องดังกล่าวจะถูกสอดเข้าไปใต้ผิวหนังเชื่อมกับเส้นประสาทบริเวณคอที่เรียกว่า vagus nerve ซึ่งเครื่องจะส่งกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นเส้นประสาทดังกล่าว ทำให้เกิดการเปลี่ยนสัญญาณประสาทภายในสมอง จึงมีส่วนช่วยในกระควบคุมอาการชักได้

การกระตุ้นสมองส่วนลึก (Deep brain stimulation :DBS)

การกระตุ้นสมองส่วนลึกมีลักษณะคล้าย VNS แต่อุปกรณ์นี้จะถูกฝั่งไว้ใต้ผิวหนังบริเวณอกแล้วส่งสัญญาณตรงไปในสมอง เพื่อทำการปรับสัญญาณสมองลดอาการชัก แต่ก็มีความเสียงที่สำคัญในผู้ที่มีเลือดออกในสมอง  ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และมีปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำ

การกินแบบคีโตเจนิค (Ketogenic diet)

การกินแบบคีโตเจนิค คือการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และมีคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนต่ำ ในเด็กที่รับประทานอาหารในรูปแบบนี้จะช่วยลดอาการชักลงได้โดยอาหารจะเข้าไปเปลี่ยนระดับสารเคมีภายในสมอง

การกินแบบคีโตเจนิคเป็นหนึ่งในการรักษาหลักของผู้ป่วยโรคลมชักก่อนที่จะมียากันชักใช้กันเหมือนทุกวันนี้ แต่สูตรอาหารดังกล่าวไม่นิยมใช้ในผู้ใหญ่ เนื่องจากอาหารมีไขมันสูงสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพที่สำคัญ เช่น โรคเบาหวาน และโรคหวัใจและหลอดเลือด ดังนั้น การกินแบบคีโตเจนิคจึงแนะนำสำหรับเด็กที่มีอาการชักที่ไม่ใช้ยากันชัก แต่ต้องรับประทานภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ นักโภชนาการ แพทย์เฉพาะทาง

การบำบัดเสริม

สำหรับบางคนที่ความเครียดเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการชัก ฉะนั้นการบำบัดเพื่อคลายความเครียด เช่น การออกกำลังกาย, โยคะ และการทำสมาธิ ก็สามารถช่วยได้

การตั้งครรภ์

โรคลมชักไม่มีผลต่อความสามารถในการมีบุตร แต่คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนการวางแผนที่จะตั้งครรภ์ เพราะยากันชักบางตัว เช่น sodium valproate อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์

หากคุณพึ่งรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ ให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อปรับการรักษา แต่คุณอย่าหยุดยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์เสียก่อน

การใช้ยาคุมกำเนิด

หากคุณไม่ต้องการที่จะมีบุตร การใช้ยาคุมกำเนิดก็เป็นทางเลือกหนึ่ง สามารถปรึกษาแพทย์ได้ว่ายาคุมกำเนิดชนิดใดเหมาะสมกับการใช้ร่วมกับยากันชัก เพื่อไม่ให้เกิดปฏิกิริยาต่อกันของยา เช่น ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม

การไปโรงเรียน

ในเด็กที่เป็นโรคลมชักส่วนใหญ่สามารถไปโรงเรียนได้ตามปกติ และร่วมกิจกรรมกับทางโรงเรียนได้ เพื่อให้แน่ใจว่าที่โรงเรียนและคุณครูจะรับทราบภาวะโรคของเด็ก ได้แก่:

●     เด็กรับประทานยาอะไร

●     ทำอย่างไรเพื่อที่จะให้เด็กหยุดชัก

●     ข้อจำกัดของเด็กที่เป็นโรคลมชัก ในการสนใจต่อการเรียนและการบ้าน เพราะโรคลมชักอาจส่งผลต่อพฤติกรรมและความสนใจ

เด็กบางคนที่เป็นโรคลมชักจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนเป็นพิเศษนอกเวลาเรียน ลองปรึกษาครูที่โรงเรียน หากเด็กจำเป็นต้องได้การเรียนพิเศษ

การทำงาน

การทำงานของผู้ที่เป็นโรคลมชัก

หากภาวะโรคลมชักสามารถควบคุมได้ดี มันจะไม่มีผลต่อการทำงานของคุณเลย และหากงานที่ได้รับมอบหมายอาจกระตุ้นอาการชักของคุณ เช่น งานยากเกินจนทำให้เกิดความเครียด คุณควรแจ้งที่ทำงานให้ทราบถึงข้อจำกัดดังกล่าว

อาจรวมถึงสิ่งเหล่านี้ เช่น:

●     การเปลี่ยนเวลาในการทำงาน

●     เลี่ยงงานที่ต้องใช้รถในการทำงาน

การเสียชีวิตอย่างกระทันหันด้วยโรคลมชัก (Sudden unexpected death in epilepsy :SUDEP)

บางครั้งผู้ที่ป่วยด้วยโรคลมชักอาจเสียชีวิตระหว่างหรือภายหลังเกิดอาการชักอย่างไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พบได้น้อย แต่สิ่งสำคัญคือต้องระวังอันตราย เพราะบางครั้งอาจป้องกันได้