อาการ
เพราะว่าโรคลมชักเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติในสมอง การชักจึงส่งผลต่อกระบวนการประสานงานของสมอง สัญญานและอาการของการชักอาจมีดังนี้:
● สับสนชั่วคราว
● ตาเหม่อลอย
● ไม่สามารถควบคุมการกระตุกของแขนและขา
● หมดสติหรือไม่รู้สึกตัว
● มีอาการทางจิต เช่น ความกลัว ความวิตกกังวลหรือมีอาการเดจาวู
อาการมีหลากหลายขึ้นอยู่กับชนิดของการชัก ส่วนใหญ่อาการของโรคลมชักมักเกิดขึ้นเป็นชนิดเดิมในแต่ละครั้งที่มีอาการ ดังนั้นอาการจะเกิดขึ้นคล้ายเดิมในแต่ละครั้งที่เป็น
แพทย์จะจำแนกชนิดของการชักเป็นแบบเฉพาะที่หรือชักทั้งตัว ขึ้นอยู่กับการทำงานของสมองผิดปกติอย่างไร
การชักแบบเฉพาะที่
เมื่ออาการชักเกิดขึ้นเป็นผลมาจากการทำงานที่ผิดปกติในบริเวณใดบริเวณหนึ่งในสมอง เราเรีบกว่าการชักเฉพาะที่ (บางส่วน) ซึ่งแบ่งออกเป็นสองชนิด:
● การชักเฉพาะที่แบบมีสติ เรียกว่า การชักบางส่วน ซึ่งการชักนี้จะไม่ทำให้หมดสติ แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์หรือเปลี่ยนวิธีการมอง กลิ่น ความรู้สึก รสหรือเสียง ซึ่งเป็นผลให้เกิดการกระตุกตามส่วนต่างๆของร่างกายโดยไม่รู้ตัว เช่นที่แขนหรือขา และมีอาการทางประสาทสัมผัสเช่น อาการเสียวซ่า เวียนศีรษะและเห็นแสงวาบ
● การชักเฉพาะที่แบบไม่รู้ตัว หรือที่เรียกว่าชักแบบขาดสติ เป็นดารชักที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่รู้สึกตัวหรือหมดสติ ในระหว่างการชักนี้ อาจมีอาการตาค้างและไม่ตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวตามปกติหรือมีการเคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ เช่นการถูมือ การเคี้ยว การกลืนหรือการเดินเป็นวงกลม
อาการของการชักแบบเฉพาะที่อาจสร้างความสับสนร่วมกับโรคทางระบบประสาทอื่นๆ เช่น ไมเกรน โรคลมหลับหรืออาการป่วยทางจิต การตรวจร่างกายและการทดสอบอาจจำเป็นต้องทำการแยกแยะโรคลมชักออกจากโรคอื่นๆ
การชักแบบทั้งตัว
การชักที่มีเป็นผลมาจากทุกส่วนของสมองที่เรียกว่าการชักทั้งตัว แบ่งออกได้เป็น 6 ชนิด
● การชักชนิดเหม่อ การชักนี้รู้จักกันมาก่อนว่า ชักเหม่อ มักเกิดขึ้นในเด้กและมีลักษณะเฉพาะคือการจ้องตาลอยหรือมีการเคลื่อนไหวร่างกายเบาๆ เช่นการกระพริบตาหรือการขยับริมฝีปาก การชักลักษณะนี้อาจเกิดขึ้นเป็นกลุ่มก้อนแลพเป็นสาเหตุทำให้ไม่รู้ตัวในระยะสั้นๆ
● อาการชักแบบชักเกร็ง การชักลักษณะนี้เป็นสาเหตุทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็งแข็ง ซึ่งส่งผลต่อกล้ามเนื้อหลัง แขนและขา และอาจทำให้ล้มลงกับพื้นได้
● อาการชักแบบกล้ามเนื้ออ่อนแรง การชักลักษณะนี้เรียกกันว่าชักตัวอ่อน เป็นสาเหตุทำให้สูญเสียการควบคุมของกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ล้มพับฉับพลัน
● อาการชักแบบชักกระตุก การชักนี้มักเกิดขึ้นร่วมกับการทำซ้ำๆหรือเป็นจังหวะ มีการกระตุกของกล้ามเนื้อ ซึ่งมักเกิดขึ้นที่คอ หน้าและแขน
● อาการชักแบบชักสะดุ้ง การชักลักษณะนี้มักเกิดขึ้นด้วยการกระตุกแบบสั้นๆอย่างฉับพลัน หรือมีการกระตุกที่แขนหรือขา
● อาการชักแบบชักเกร็งและกระตุก การชักนี้รู้กันมาก่อนว่าเป็นการชักแบบลมบ้าหมู เป็นการชักที่พบบ่อยมากที่สุด และเป็นสาเหตุทำให้ไม่รู้ตัวแบบฉับพลัน ร่างกายแข็งเกร็งและสั่น ในบางครั้งอาจกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือกัดลิ้นตัวเอง
ควรไปพบแพทย์เมื่อไร
ควรพบแพทย์ทันทีหากมีอาการดังต่อไปนี้:
● มีอาการชักนานมากกว่า 5 นาที
● หลังหยุดชักยังไม่ได้สติหรือไม่หายใจ
● มีอาการชักครั้งที่สองตามมาในทันที
● มีไข้สูง
● มีอาการเพลียแดด
● กำลังตั้งครรภ์
● เป็นโรคเบาหวาน
● ได้รับบาดเจ็บในรหว่างเกิดอาการชัก
หากเป็นการชักในครั้งแรก ควรขอคำแนะนำจากแพทย์
นี่คือแหล่งที่มาบทความของเรา
● https://www.nhs.uk/conditions/epilepsy/
● https://www.cdc.gov/epilepsy/about/faq.htm
● https://www.cdc.gov/epilepsy/index.html