Epilepsy surgery

ภาพรวม

การผ่าตัดเพื่อรักษาโรคลมชัก(Epilepsy surgery) เป็นหัตถการที่นำเอาชิ้นส่วนภายในสมองที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการชักออก

โดยการผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดหากเป็นอาการชักที่มีสาเหตุเพียงจุดเดียวในสมอง แต่การผ่าตัดเพื่อรักษาโรคลมชักไม่ใช้ทางเลือกในการรักษาอันดับแรก แต่จะแนะนำให้ผ่าตัดเมื่อได้รับยากันชักอย่างน้อยสองตัวแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควบคุมอาการชักไม่ได้

เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีการทดสอบก่อนพิจารณาเข้ารับการผ่าตัด รวมไปถึงการเตรียมการก่อนผ่าตัดว่าต้องเตรียมอย่างไรบ้าง

 

ทำไมถึงต้องเข้ารับการผ่าตัด

การผ่าตัดเพื่อรักษาโรคลมชักอาจเป็นทางเลือกในการรักษาโรคลมชักเมื่อไม่สามารถควบคุมอาการชักได้ด้วยยา ซึ่งสภาวะดังกล่าวเรียกว่า ภาวะดื้อยาของโรคลมชัก โดยเป้าหมายของการผ่าตัดคือ หยุดอาการชัก หรือจำกัดความไวต่ออาการชักเมื่อใช้หรือไม่ใช้ยา

ภาวะที่ควบคุมอาการชักได้ต่ำอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างมาก ได้แก่:

●     เกิดการบาดเจ็บทางร่างกายขณะเกิดอาการชัก

●     จมน้ำ หากอาการชักเกิดขณะแช่น้ำหรือว่ายน้ำ

●     ซึมเศร้า และวิตกกังวล

●     พัฒนาการทางด้านจิตใจของเด็กล่าช้า

●     เสียชีวิตกระทันหัน เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยในผู้ที่เป็นโรคลมชัก

●     ความจำแย่ลง หรือทักษะทางความคิดถดถอย

ประเภทของการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคลมชัก

โรคลมชักเป็นผลมาจากเซลล์สมอง(neurons) ทำงานผิดปกติ ดังนั้นประเภทของการผ่าตัดจึงขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเซลล์สมองที่ผิดปกติจนทำให้เกิดอาการชักและอายุของผู้ป่วย ประเภทของการผ่าตัด ได้แก่:

●     การผ่าตัดมรจุดที่เกิดความผิดปกติ (Resective surgery) เป็นการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคลมชักที่พบบ่อยที่สุด เป็นการผ่าตัดเอาส่วนของสมองส่วนเล็กๆออก โดยศัลยแพทย์จะตัดเอาเนื้อเยื่อสมองในส่วนที่ก่อให้เกิดอาการชักออก ซึ่งมักจะพบเนื้องอก, การบาดเจ็บของสมอง หรือความไม่สมบูรณ์ของเนื้อสมองในบริเวณดังกล่าว การผ่าตัดประเภทนี้ส่วนใหญ่มักเกิดบริเวณสมองส่วนขมับ (temporal lobes) เป็นส่วนที่ควบคุมความจำ, ภาษา และอารมย์

●     เป็นการบำบัดด้วยความร้อนจากเลเซอร์ (Laser interstitial thermal therapy :LITT) เป็นการผ่าตัดที่สร้างความเสียหายแก่สมองน้อยมาก เนื่องด้วยการนำเอาเลเซอร์มาแทนใบมีด ทำให้มีความแม่นยำในการตัดเอาจุดเล็กๆหรือส่วนของเนื้อเยื่อสมองออกมาได้ โดยทั้งหมดนี้มีการใช้ภาพถ่ายแบบสามมิติ Magnetic resonance imaging :MRI เขามาช่วยชี้จุดในการผ่าตัดโดยศัลยแพทย์ที่ใช้เลเซอร์

●     การกระตุ้นสมองส่วนลุก (Deep brain stimulation) โดยใช้เครื่องมือ — ฝังเข้าไปในส่วนลึกของสมอง — เพื่อปลดปล่อยสัญญาณไฟฟ้าที่ถูกรบกวนให้เป็นปกติ โดยหัตถการดังกล่าวจะมีภาพถ่าย MRI เป็นตัวช่วยให้เห็นภาพขณะทำการผ่าตัด มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าส่งสัญญาณไฟฟ้าฝังอยู่ภายในหน้าอก

●     Corpus callosotomy เป็นการผ่าตัดเอาส่วนของสมองที่เชื่อมอยู่กับเส้นประสาทที่ควบคุมสมองทั้งฝั่งซ้ายและขวาออกเพียงบางส่วนหรือเอาออกทั้งหมด สมองส่วนนั้นเรียกว่า corpus callosum การผ่าตัดปรเภทนี้มักทำให้เด็กที่มีความผิดปกติของสมองจากซีกหนึ่งไปยังอีกซีกหนึ่งของสมอง

●     Hemispherectomy เป็นหัตถการที่นำเอาด้านหนึ่ง(ครึ่งหนึ่ง) ของสมองส่วน cerebral cortex ออก โดยการผ่าตัดประเภทนี้มักทำในเด็กที่มีอาการชักที่เกิดจากหลายจุดภายในสมองซีกใดซีกหนึ่ง อาการจะแสดงตั้งแต่แรกเกิด หรือก่อนวัยทารก

●     Functional hemispherectomy เป็นหัตถการอย่างแรกที่ทำในเด็ก โดยจะนำเอาเส้นประสาทที่เชื่อมโยงออกโดยไม่ตัดส่วนของสมองที่เกิดการชักออก

ความเสี่ยง

ส่วนของสมองทำหน้าที่แตกต่างกันไปในแต่ละส่วน ดังนั้นความเสี่ยงก็แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับจุดในการผ่าตัดและประเภทของการผ่าตัด ทีมศัลยกรรมจะช่วยให้คุณเข้าใจความเสี่ยงที่จำเพาะสำหรับหัตถการของคุณ เช่นเดียวกับทีมรักษาก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่:

●     ปัญหาเกี่ยวกับความจำและภาษาอาจมีผลต่อความสามารถในการเข้าใจและการใช้ภาษา

●     การมองเห็นเปลี่ยนไปโดยขอบเขตของการมองเห็นภาพจะเหมือนถูกซ้อนทับกันอยู่

●     ซึมเศร้า หรืออารมย์เปลี่ยนแปลง ซึ่งมีผลต่อบุคลิกภาพหรือความสัมพันธ์ต่อผู้อื่น

●     ปวดศีรษะ

●     โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

คุณจะเตรียมรับมืออย่างไร

หากคุณได้รับคัดเลือกให้เข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคลมชัก คุณจะได้ทำงานร่วมกับทีมแพทย์ที่ศูนย์เฉพาะทางโรคลมชัก โดยทีมจะทำการทดสอบหลายอย่างเพื่อประเมินคุณสมบัติของคุณสำหรับเข้ารับการผ่าตัด การระบุจุดในการผ่าตัดที่เหมาะสมและเข้าใจในรายละเอียดว่าสมองส่วนนั้นทำงานอย่างไร การทดสอบบางส่วนจะทำการทดสอบตั้งแต่เป็นผู้ป่วยนอก ขณะที่บางการทดสอบอาจต้องนอนภายในโรงพยาบาล

การประเมินเพื่อค้นหารอยโรค

หัตถการด้านล่างนี้เป็นการทดสอบพื้นฐานที่ใช้ในการจำแนกส่วนของสมองที่ทำงานผิดปกติ

●     Baseline electroencephalogram (EEG) . เป็นการแปะแผ่นลงบนกะโหลกเพื่อประเมินคลื่นสมองหาความแตกต่างระหว่างช่วงที่ชักและไม่ชัก ซึ่งสามารถประเมินได้ว่าสมองทั่วไปที่อาจได้รับผลกระทบ

 

●     Video EEG เป็นการประเมินคลื่นสมองผ่านการบันทึกภาพวีดิโอเมื่อเกิดอาการชัก เนื่องจากยากันชักอาจลดอาการหรือหยุดอาการได้เพียงชั่วคราว การทดสอบนี้ผู้ป่วยต้องนอนในโรงพยาบาลเพื่อทำการตรวจ การประเมินการเปลี่ยนของคลื่นสมองร่วมกับการเคลื่อนไหวร่างกายขณะชักจะสามารถชี้จุดภายในสมองที่ก่อให้เกิดอาการชักได้

●     Magnetic resonance imaging (MRI) เป็นการใช้คลื่นแม่เหล็กและคลื่นวิทยุในการสร้างรายละเอียดของถาพ เพื่อให้แพทย์จำแนกจุดของเซลล์ที่ถูกทำลาย, เนื้องอก หรือความผิดปกติอื่นที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการชัก

ทีมผ่าตัดของคุณอาจสั่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาตำแหน่งที่ทำให้เกิดอาการชักและระบุลักษณะของความผิดปกตินั้นๆ การทดสอบได้แก่:

●     Invasive EEG monitoring หากการมดสอบคลื่นสมองไม่แสดงถึงตำแหน่งที่ทำให้เกิดอาการชัก การเฝ้าติดตามคลื่นสมองโดยการแปะแผ่นตรวจลงบนสมองหรือภายในส่วนลึกของสมองขณะผ่าตัด ฉะนั้นการตรวจคลื่นสมองแบบนี้จะทำขณะที่คุณไม่รู้สึกตัว

●     Video EEG with invasive electrodes. เป็นการติดตามคลื่นสมองผ่านการบันทึกภาพวีดิโอ ภายหลังการผ่าตัดและได้รับยากันชัก ขณะที่นอนอยู่ในโรงพยาบาล

●     Positron emission tomography (PET) เป็นเครื่องมือที่ให้ภาพเฉพาะ โดยจะทำการประเมินหน้าที่ของสมองเมื่อคุณชัก—ร่วมกับการใช้ภายถ่าย MRI — ช่วยจำแนกจุดที่ก่อให้เกิดอาการชัก

●     Single-photon emission computerized tomography (SPECT) เป็นหัตถการที่ประเมินอัตราการไหลเวียนของเลือดภายในสมองขณะที่เกิดอาการชัก ซึ่งโดยทั่วไปอัตราการไหลเวียนเลือดจะสูงในส่วนที่สมองก่อให้เกิดอาการชัก หัตถการนี้ต้องนอนในโรงพยาบาลเพื่อทำการตรวจ

การประเมินหน้าที่ของสมอง

ขึ้นอยู่กับประเภทของการผ่าตัดสมอง ทีมแพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการประเมินส่วนของสมองที่ควบคุมเรื่องของภาษา, ระบบรับสัมผัส, การเคลื่อนไหว หรือหน้าที่ที่สำคัญอื่นๆก่อนการผ่าตัด เพราะข้อมูลการตรวจดังกล่าวจะช่วยให้ศัลยแพทย์เก็บรักษาหน้าที่ดังกล่าวให้คงเดิมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เมื่อตัดส่วนที่ก่อโรคออกจากสมอง

การทดสอบดังกล่าว ได้แก่:

●     MRI

●     Wada test การตรวจนี้จะทำการฉีดยาเข้าไปในสมองซึกหนึ่งให้หลับไปชั่วขณะ จากนั้นทำการทดสอบความสามารถทางด้านภาษาและความจำ การทดสอบนี้จะช่วยประเมินว่าสมองซีกใดของคุณเด่นในการใช้ภาษา ซึ่ง MRI อาจแทนที่การทดสอบนี้ได้แต่ถ้าไม่สามารถประเมินจากภาพได้ วิธีนี้ก็เป็นวิธีที่ดีอย่างหนึ่ง

●     Brain mapping เป็นการแปะแผ่นดูคลื่นสมองขณะผ่าตัดบนพื้นผิวสมอง เมื่อคุณตื่นขึ้นภายหลังการผ่าตัด คุณจะได้รับการทดสอบมากมายในการประเมินคลื่นสมองของคุณ

การทดสอบทางประสาทวิทยา

นอกเหนือจากการตรวจที่แนะนำไปแล้วข้างต้น ยังมีการทดสอบที่จะเป็นการประเมินทักษะการเรียนรู้ผ่านการสื่อสารโดยการพูดและไม่พูด รวมไปถึงหน้าที่ในเรื่องของความจำ การทดสอบนี้จะให้ข้อมูลเชิงลึกของบริเวณที่เป็นรอยโรค ว่าเหมือนกันกับภายหลังการผ่าตัดหรือไม่

คุณคาดหวังอะไรบ้าง

ก่อนการผ่าตัด

เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสในการติดเชื้อ ผมของคุณจะถูกตัดให้สั้นหรือโกนผมในส่วนที่จะผ่าตัด และจะมีการแทงเข็มให้สารน้ำก่อนการผ่าตัด

ระหว่างการผ่าตัด

อัตราการเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต และระดับออกซิเจนของคุณจะถูกติดตามเฝ้าระวังตลอดการผ่าตัด เครื่องติดตามคลื่นสมองจะบันทึกคลื่นสมองระหว่างการผ่าตัดเพื่อให้การผ่าตัดแม่นยำเมื่อเกิดคลื่นชักภายในสมอง

การผ่าตัดเพื่อรักษาโรคลมชักมักจะให้ยมดมสลบทั่วร่างกาย ตลอดการผ่าตัดคุณจะไม่รู้สึกตัว ยกเว้นบางการผ่าตัดศัลยแพทย์จะปลุกคุณให้ตื่นตลอดการผ่าตัดเพื่อช่วยในการประเมินว่าตำแหน่งใดของสมองควบคุมความสามารถด้านภาษาและการเคลื่อนไหว ในบางรายอาจต้องได้รับยาควบคุมอาการปวด

ศัลยแพทย์จะผ่าตัดช่องเล็กๆคล้ายหน้าต่างภายในกะโหลก แต่ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของการผ่าตัด โดยภายหลังการผ่าตัดรูดังกล่าวจะหายได้เอง

หลังการผ่าตัด

คุณจะได้รับการเฝ้าระวังและติดตามอาการหลังการผ่าตัดอย่างใกล้ชิดและตื่นภายหลังยาสลบหมดฤทธิ์ คุณอาจต้องพักรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต (ICU: intensive care unit) ในคืนแรกหลังการผ่าตัด ซึ่งส่วนใหญ่การผ่าตัดรักษาโรคลมชักจะใช้เวลานอนในโรงพยาบาลประมาณ 3-4 วัน

เมื่อคุณตื่นขึ้นมา ศีรษะของคุณอาจบวมและปวดมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจต้องได้รับยาแก้ปวดชนิดเดียวกับสารเสพติดเพื่อบรรเทาอาการปวดใน 2-3 วันแรก การประคบเย็นไว้ที่ศีรษะอาจช่วยลดบวมและบรรเทาอาการปวดได้ ซึ่งอาการเปล่านี้จะทุเลาลงอาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์

คุณอาจยังไม่สามารถกลับไปทำงานตามปกติหรือกลับไปโรงเรียนได้ประมาณ 1-3 เดือน คุณควรพักผ่อนประมาณ 2-3 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัดสมองและค่อยๆเพิ่มการทำกิจกรรมขึ้นเรื่อยๆ

อาจไม่จำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดหากคุณไม่ได้ใช้เวลาในการผ่าตัดยาวนานหรือมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือเกิดความผิดปกติทางการพูด

ผลลัพธ์

ผลลัพธ์ของการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคลมชักมีหลากหลายขึ้นอยู่กับประเภทของการผ่าตัด ผลที่คาดหวังคืออาการชักสามารถควบคุมได้ด้วยยา

ขั้นตอนที่พบบ่อยและเข้าใจมากที่สุด— คือการตัดชิ้นส่วนภายในสมองส่วนขมับ(temporal lobe) — ผลลัพธ์ที่พบคือ 2 ใน 3 ของผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดไม่เกิดอาการชัก มีการศึกษาแนะนำว่าหากคุณมีอาการชักภายในปีแรกหลังการผ่าตัดสมองส่วนขมับ— การใช้ยา— ความเป็นไปได้ที่จะไม่เกิดอาการชักภายใน 2 ปีอยู่ที่ร้อยละ 87-90 หากคุณไมีมีอาการชักภายใน 2 ปี โอกาสที่จะไม่เกิดอาการชักอยู่ที่ร้อยละ 95 ภายใน 5 ปี และร้อยละ 82 ภายใน 10 ปี

หากคุณยังไม่มีอาการชักเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี แพทย์อาจให้งดยากันชักและให้คุณหยุดยาทั้งหมดของคุณ ผู้คนส่วนใหญ่ที่เคยชักหลังจากหยุดยาอาจต้องกลับมาควบคุมอาการชักด้วยการรักษาด้วยยาต่อ

 นี่คือแหล่งที่มาบทความของเรา

●     https://www.nhs.uk/conditions/epilepsy/

●     https://www.cdc.gov/epilepsy/about/faq.htm

●     https://www.cdc.gov/epilepsy/index.html

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *