การวินิจฉัยโรคลมชักในผู้ใหญ่ (Diagnosing Epilepsy in Adults)
การวินิจฉัยเบื้องต้น
คนที่มีอาการชักครั้งแรกในวัยผู้ใหญ่นั้นก็มีความจำเป็นต้องการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์อย่างครบถ้วนเหมือนกับทุกคน และมีบางสิ่งสำตัญที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ:
● อาการชักเฉพาะที่ หรือที่รู้จักกันว่า การชักเฉพาะที่แบบมีสติ หรือการชักเฉพาะที่ไม่รู้สึกตัว ซึ่งเป็นอาการชักที่มักพบว่าเกิดขึ้นทั่วไปในผู้ใหญ่มากกว่าการชักแบบทั้งตัว อาการชักนี้บ่อยครั้งมักถูกมองข้ามหรือเกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นปัญหาจากสาเหตุอื่น สิ่งที่สำคัญคือควรจดสิ่งที่เห็นไว้เสมอ
○ หากเป็นไปได้ ให้ถ่ายวิดีโอด้วยกล้องหรือโทรศัพท์มือถือไว้ และนำไปให้แพทย์ทางระบบประสาทดูในนัดครั้งแรก
○ หากคุณคือผู้ดูแลที่เห็นคนที่มีอาการชักครั้งแรก ลักษณะอาการและการเฝ้าสังเกตการณ์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
● ค้นหาสาเหตุของการชักที่เริ่มในวัยผู้ใหญ่คือขั้นตอนแรก สิ่งนี้อาจทำในห้องฉุกเฉินหากคนไข้ถูกพามาโรงพยาบาลเมื่อเกิดการชักครั้งแรก ในครั้งอื่นๆจะมำการตรวจที่ห้องแพทย์ แพทย์จะเริ่มมองหาสาเหตุการรักษาที่อาจเป็นไปได้ และโรคทางสุขภาพอื่นๆ สิ่งที่แพทย์ทางระบบประสาทจะแนะนำคือ
○ สาเหตุทั่วไปที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เริ่มอาการชักใหม่ในผู้ใหญ่คือการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างในสมอง (เช่น โรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอกหรือการบาดเจ็บที่สมอง) และการติดเชื้อของสมอง
○ ราว 60% ของคนที่เป็นโรคลมชักคือไม่รู้สาเหตุที่แน่นอน
○ การสแกนเอ็มอาร์ไอควรทำในคนที่เริ่มมีอาการชักในวัยผู้ใหญ่ การตรวจนี้เพื่อมองหาสาเหตุของการรักษา เช่นเนื้องอกหรือการติดเชื้อ อีกทั้งยังระบุพื้นที่เฉพาะที่เป็นเหตุของการชักที่เริ่มหรือให้ข้อมูลเกี่ยวปัญหาทางระบบประสาท
○ หากพบว่ามีความยากต่อการวินิจฉัย ทาง epilepsy specialist at a comprehensive epilepsy center จะสามารถทำการทดสอบวินิจฉัยและรักษาได้มากกว่า
นี่คือแหล่งที่มาบทความของเรา
● https://www.nhs.uk/conditions/epilepsy/
● https://www.cdc.gov/epilepsy/about/faq.htm
● https://www.cdc.gov/epilepsy/index.html